วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


สื่่อการสอน

  สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่า
ในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

คุณสมบัติของสื่อการสอน 
  สื่อการสอนมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ คือ
                

     1. สามารถจัดยึดประสบการณ์กิจกรรมและการกระทำต่าง ๆ ไว้ได้อย่างคงทนถาวร ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน ทั้งในลักษณะของรูปภาพ เสียง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ
                

     2. สามารถจัดแจงจัดการและปรุงแต่งประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ใช้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเพราะสื่อการสอนบางชนิด สามารถใช้เทคนิคพิเศษเพื่อเอาชนะข้อจำกัดในด้านขนาด ระยะทาง เวลา และความเป็นนามธรรมของประสบการณ์ตามธรรมชาติได้
               

     3. สามารถแจกจ่ายและขยายของข่าวสารออกเป็นหลาย ๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก และสามารถใช้ซ้ำ ๆ ได้
หลาย ๆ ครั้ง ทำให้สามารถแก้ปัญหาในด้านการเรียนการสอนต่าง ๆ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน
ได้เป็นอย่างดี

คุณค่าของสื่อการสอน
               
        1. เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน


        2. ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจ

        3. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง

        4. ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน

        5. แสดงความหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ

        6. ให้ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้

        7. แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย

        8. อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น

        9. สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ เกี่ยวกับเวลา ระยะทางและขนาดได้ เช่น

  •  ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้ 
  •  ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลงได้ 
  •   ย่อสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลงได้ 
  •   ขยายสิ่งที่เล็กเกินไปให้ใหญ่ขึ้นได้ 
  •   นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาได้ 
  •  นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้ 

คุณค่าของสื่อการสอน จำแนกได้ 3 ด้าน คือ

       

  1. คุณค่าด้านวิชาการ
                 1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
                 1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช่สื่อการสอน
                 1.3 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้   

                        กว้างขวางและเป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น 
                 1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา
                 1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มากและได้นาน
                 1.6 สื่อการสอนบางชนิด ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น
         

 2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
                  2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
                 2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
                 2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
           

3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
                 3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้
เร็วและมากขึ้น
                 3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
                 3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน
                 3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง

ประเภทของสื่อการสอน

        
การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ  ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523 : 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                 

 1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
                       - แผนภูมิ (Charts)
                       - แผนภาพ (Diagrams)
                       - ภาพถ่าย (Poster)
                       - โปสเตอร์ (Drawing)
                       - ภาพเขียน (Drawing)
                       - ภาพโปร่งใส (Transparencies)
                       - ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
                       - แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
                       - เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
               

  2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่
                       - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
                       - เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
                       - เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
                       - เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
                       - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
                       - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
                

 3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
                       - บทบาทสมมุติ (Role Playing)
                       - สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                       - การสาธิต (Demonstration)
                       - การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
                       - การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                       - กระบะทราย (Sand Trays)